ประวัติส่วนตัวสมาชิกในกลุ่ม
1.
นาย กฤช วิเวกรัมย์ ชื่อเล่น วิท
เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539
อาศัยอยู่ที่ 111 ม.5 ต.กระสัง
อ. กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพที่อยากเป็น นักดนตรี
วิชาที่ชอบ ดนตรี เศรษฐศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ คณิตศาสตร์
สีที่ชอบ สีแดง สีน้ำเงิน
2.
นาย นพดล กิริรัมย์ ชื่อเล่น หนึ่ง
เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2537
อาศัยอยู่ที่ 163/2 ม.8 ต.กันทรารมย์
อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพ เกษตรกร
วิชาที่ชอบ เศรษฐศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ อังกฤษ
สีที่ชอบ สีฟ้า สีเขียว
3.
นางสาว พิมพ์พิไล ประเสริฐศรี ชื่อเล่น ปาน
เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540
อาศัยอยู่ที่ 47/2 ม.15 ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาชีพที่อยากเป็น พนักงานเอกชน
วิชาที่ชอบ อังกฤษ
วิชาที่ไม่ชอบ ทัศนศิลป์
สีที่ชอบ สีฟ้าอมน้ำเงิน
4.
นางสาว พิมลพรรณ ประเสริฐศรี ชื่อเล่น ปอ
เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540
อาศัยอยู่ที่ 47/2 ม.15 ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาชีพ นักแปลภาษา ล่าม
วิชาที่ชอบ อังกฤษ จีน
วิชาที่ไม่ชอบ ทัศนศิลป์
สีที่ชอบ สีเหลือง สีเขียว
5.
นางสาว รัตนา สังสิทธิ์ ชื่อเล่น เก๋
เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2539
อาศัยอยู่ที่ บ้านปลาย ต.กันทรารมย์ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
อาชีพ นักตรวจสอบบัญชี
วิชาที่ชอบ อังกฤษ การงาน
วิชาที่ไม่ชอบ ทัศนศิลป์
สีที่ชอบ สีแดง
6.
นางสาว สิรินทรา มานัส ชื่อเล่น แนน
เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2540
อาศัยอยู่ที่ 43 ม.10 ต.บ้านปรือ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
สถาบันที่อยากเข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาชีพ ทนายความ
วิชาที่ชอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
วิชาที่ไม่ชอบ ทัศนศิลป์
สีที่ชอบ สีแสด
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog)
- ประเภทของเว็บบล็อก
- เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก
- ความหมายของ Blogger
- เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าไหม
- เรื่องเกี่ยวกับ ใบหม่อน
- ตัวไหม
- ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog)
เว็บบล็อก เป็นคำที่มาจากคำว่า เว็บ และ บล็อก นำมารวมกัน จึงได้คำว่า "เว็บบล็อก" ซึ่งหมายถึง เครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์ที่มีลัษณะใช้งานเหมือน เว็บบอร์ด แต่เน้นการใช้งานไปในการเขียนบันทึก หรือข้อมูลส่วนตัวเหมือนกับไดอารี แต่จะมีคุณสมบัติเด่นกว่าไดอารี่ที่เขียนด้วยมื่อตรงที่ เว็บบล็อกสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆได้ และเปิดรับความเห็นจากผู้อื่นได้
1. มีการจัดหัวข้อของเนื้อหา บทความ โดยให้เรื่องใหม่สุดอยู่ด้านบน และ มักจะจัดเรื่องแบบเดียวกันไว้ด้วยกัน
2. มีการสะสมบทความเป็นระบบต่อเนื่องกัน
3. ผู้อ่านบทความนั้นๆสามารถแสดงความคิดเห็นได้
4. มีลิสต์ของลิ้งค์ไปเว็บหรือบล็อกอื่นที่มีเนื้อหาคล้ายกัน หรือที่เราเรียกกันว่า blogroll แต่ไม่ว่าจะเป็นบล็อกแบบไหนก็ควรจะมีการอัพเดทบ่อยๆให้มีสิ่งใหม่ให้ผู้คนอยากเข้ามาอ่านอยู่ตลอดเวลา
web blog เป็นคำที่คิดค้นโดย โจร์น บาร์เกอร์ ใน ค.ศ. 1997 และต่อมาอีก 2 ปี ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ ได้สร้าบล็อกของตนเองแแล้วใช้ชื่อว่า blog จึงทำให้คำว่า web blog ถูกเรียกโดยย่อว่า blog และกลายเป็นคำฮิตติดปากในที่สุด แต่การเปลี่ยนไอเดียจากกระดานข่าวสู่บล็อกนั้นยังไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ไอเดียเล็กๆ มาสร้าธุรกิจใหม่ได้เลย หากไม่มีบริษัทเล็กๆ ผูที่บริการจัดทำเว็บไซด์ทำเงินได้ ซึ่งสุดท้าย ฝันก็เป็นจริงเมื่อวันหนึ่งเว็บ Blogger.com ของพวกเค้าได้รับข้อเสนอซื้อจากบริษัทยักใหญ่ของวงการเสิร์จเอ็นจิ้นอย่าง Google.com ด้วยมูลค่าที่ใครๆก็คาดไม่ถึงเนื้อหาในบล็อกนั้นจะประกอบไปด้วย 1 หัวข้อ 2 เนื้อหา 3 วันที่
Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดังนี้
เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น www.terrystrek.com
โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว - สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
ความหมายของ Blog หรือ Weblog
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
- เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าไหม
ประวัติ
ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน) ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์ ในปี พ.ศ. 2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ
ในการเลือกซื้อผ้าไหมมาใช้นั้น สิ่งแรกที่ผู้ซื้อควรคำนึงถึงก็คือ การนำมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากผ้าไหมที่มีขายในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น ถ้าเป็นผ้าพื้นจะมีตั้งแต่เนื้อบางไปจนถึงเนื้อหนา คือมีตั้งแต่ชนิดที่ทอด้วยไหม 1 เส้น 2 เส้น 3 เส้น 4 เส้น 6 เส้น 3 ตะกอเป็นต้น ดังนั้นการเลือกซื้อผ้าไหมจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหรืออาจจะสอบถามข้อมูลจากร้านทอผ้า
3.2 เลือกให้เหมาะสมกับรูปร่าง
สำหรับคนรูปร่างเล็ก
- โทนสีที่เหมาะสม ควรใส่ผ้าไหมในโทนสีอ่อน หรือสีสว่างและไม่ควรเน้นโทนสีเข้มเพราะจะทำให้ตัวเล็กลงและไม่ควรตัดเสื้อผ้าเน้นรูปร่างจนเกินไปเพราะจะทำให้ดูผอมลงอีก
- เนื้อผ้าที่เหมาะสม ควรใช้ผ้าเนื้อหนา จะได้ไม่แนบเนื้อเวลาสวมใส่
- ควรใส่ชุดที่เป็นลายในแนวขวาง จะทำให้ดูสมส่วนมากขึ้น
สำหรับคนรูปร่างใหญ่ ค่อนข้างท้วมหรืออ้วน
- โทนสีที่เหมาะสม ควรใช้โทนสีเข้ม เพราะจะทำให้ดูไม่อ้วน(ไม่ควรใส่สีโทนสว่าง) สามารถใส่สีโทนเข้มได้ทุกสีและไม่ควรตัดเสื้อผ้าเน้นรูปร่างจนเกินไป
- เนื้อผ้าที่เหมาะสม ควรใช้ผ้าเนื้อหนา จะได้ไม่แนบเนื้อเวลาสวมใส่
- ลวดลายที่เหมาะสม ควรใส่ผ้าที่มีลายเล็ก หรือผ้าลายทางหรือลายที่เป็นแนวตั้ง
3.3 การตรวจสอบคุณภาพผ้าไหม
1. ดูความสม่ำเสมอของสี ตรวจดูความเรียบร้อยของสีทั้งผืนให้มีสีที่สม่ำเสมอ เช่น กรณีที่เป็นลายริ้วอยางสม่ำเสมอจะดูแปลกตาและเป็นเอกลักษณ์เป็นที่นิยมกันมากส่วนในกรณีที่สีต่างกันอย่างชัดเจนเช่น ซีกหนึ่งสีฟ้าอีกซีกหนึ่งสีต่างออกไป ในกรณีนี้ถือว่าไม่สมบูรณ์
2. ความสม่ำเสมอของลาย ในเรื่องของลายต้องใช้ความละเอียดในการคัดลือก บางครั้งขนาดของลายที่ใหญ่เล็กไม่สม่ำเสมอกันที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนคือ มีเพียงบางจุดที่ใหญ่หรือเล็ก ถือว่าไม่สมบูรณ์ แต่ในกรณีที่ลายนั้นมีการออกแบบมาก่อนเป็นลายดั้งเดิมและมีความสม่ำเสมอของลายใหญ่เล็กอย่างสวยงาม แบบนี้ถือว่าเป็นลายที่เอกลักษณ์ต้องใช้ทักษะในการทอและออกแบบสูงทีเดียว
3. เนื้อผ้า เนื้อผ้าที่ดีควรมีความแน่นพอสมควร ไม่บางหรือหลวมจนเกินไป ผ้าไหมจะมีเนื้อผ้าทั้งแบบเรียบและแบบหยาบ แบบเรียบอาจจะมีขี้ไหมอยู่บ้าง ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ส่วนในแบบหยาบจะมีขี้ไหมอยู่ตลอดทั้งผืน ซึ่งทอจากเส้นไหมพื้นบ้านที่มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำไม่เรียบ ในปัจจุบันนี้เป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างสูงและหายาก
3.4 การเลือกดูผ้าไหม
เนื่องจากผ้าไหมไทยเป็นผ้าที่ทอจากเส้นธรรมชาติ จึงมีวิธีที่พิสูจน์ที่ง่าย เนื่องจากเส้นใยธรรมชาติจะมีความแตกต่างจากเส้นใยสังเคราะห์อยู่มากโดยเฉพาะความโปร่งและความละเอียดของโครงสร้างที่เป็นธรรมชาติ รวมทั้งน้ำหนักจะเบากว่าผ้าในปริมาตรเท่า ๆ กัน
ขั้นตอนที่ 1
สังเกตุโดยรวม ถ้าเป็นไหมเนื้อละเอียดจะทอจากไหมเส้นเล็กซึ่งมีความเงางามและอาจมีขี้ไหมหรือปมไหมอยู่บ้างแต่ไม่มาก ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ ๆ ของไหม ส่วนผ้าไหมเนื้อหยาบจะมีความเงาน้อยลงมาก แต่มีขี้ไหมอยู่ทั่วทั้งผืนเป็นเอกลักษณ์ แต่ทั้งความเงาและขี้ไหมในปัจจุบันนี้ สามารถเลียนแบบให้ใกล้เคียงได้มีเงาและมีขี้ไหมคล้ายกัน แต่เรื่องโครงสร้างและความโปร่ง ใส่สบาย ยังไม่สามารถเลียนแบบธรรมชาติได้
ขั้นตอนที่ 2
หากผ้าไหมที่เราซื้อมามีความเงาและมีขี้ไหมก็ยังไม่สามารถวางใจได้ 100% เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถใช้เส้นใยสังเคราะห์ทำให้ใกล้เคียงกันได้ แต่โครงสร้างของเส้นใยต่างกัน
วิธีพิสูจน์ลำดับต่อไปก็คือ ดึงเส้นไหมจากผ้าทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน เนื่องจากบางครั้งจะมีการปลอมเพียงครึ่งเดียว คือ ปลอมเฉพาะทางทอหรือแนวนอนเท่านั้น แต่ทางยืนหรือแนวตั้งจะเป็นเส้นไหมจริง ดังนั้น การทดสอบจึงควรดูทั้ง 2 แนวผ้า เมื่อดึงเส้นด้ายมาแล้วลองจุดไฟเพื่อสังเกตุ ถ้าเป็นเส้นไหมแท้ ๆ เมื่อโดนไฟจะลุกเป็นเปลวเหลือง เถ้าเป็นก้อนสีดำ มีกลิ่นเหมือนเส้นผมหรือขนนกไหม้แล้วจะหดเล็กน้อย แต่ไม่รวมเป็นก้อนเหมือนเส้นใยสังเคราะห์ ตรงนี้จะเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญ กล่าวคือลักษณะของเส้นใยสังเคราะห์ที่มีความเงาจะมีส่วนผสมของพลาสติก ถ้าเป็นไหมเทืยมจะลุกไหม้อย่างรวดเร็วเหลือเถ้าน้อยมาก มีกลิ่นเหมือนพลาสติกไหม้
ขั้นตอนที่ 3
สังเกตุที่ความเปราะของเส้นใยถ้าเป็นผ้าไหมแท้เส้นใยจะเป็นธรรมชาติ มีโครงสร้างที่เล็ก เมื่อถูกไฟจะเปราะและเมื่อใช้นิ้วขยี้ก็จะแตกเป็นเถ้า ส่วนกลิ่นก็จะไม่เหม็นมากและเป็นกลิ่นธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นไหมสังเคราะห์จะมีกลิ่นเหมือนพลาสติกไหม้และจะไม่เป็นเถ้าหรือผงแต่จะหดตัวและเป็นก้อนติดกัน เพราะเส้นใยสังเคราะห์จะมีส่วนผสมของพลาสติก
การเก็บรักษาผ้าไหม
การเก็บรักษาผ้าไหมนั้น ควรเก็บผ้าไหมไว้ในตู้เสื้อผ้าที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ผ้าซิ่นไหมควรใช้วิธีแขวนบนราวหรือไม้แขวนที่มีแกนกลางกลมขนาด 1 เซนติเมตร ไม่ควรพับซ้อนกันเพราะจะทำให้เกิดรอยพับหรือเส้นไหมหักงอได้ ถ้าแขวนไว้นานควรนำอกมาพับแขวนสลับด้านบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการหักงอของเส้นไหม ในตู้เสื้อผ้าที่เก็บผ้าไหมควรมีลูกเหม็นกันแมลงวางไว้และถ้าในตู้เสื้อผ้ามีผ้าไหมจำนวนมากๆ ควรมีถ้วยน้ำวางไว้ป้องกันไม่ให้เส้นไหมแห้งกรอบ เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มความชื้นทำให้เส้นไหมไม่กินตัว แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ผ้าไหมอับชื้นจนเกินไปเพราะถ้าผ้าไหมมีความอับชื้นนานเพียง 2 คืน อาจทำให้ขึ้นราเป็นดอกสีขาว ซึ่งในจุดราดอกขาวนั้นทำให้ผ้าผุเร็ว หากใช้ผ้าไหมแล้วยังไม่ได้นำไปซักหรือต้องการใช้ซ้ำ ควรนำผ้าไหมไปผึ่งให้แห้งสนิทก่อนแล้วจึงเก็บ
3.5 การดูแลรักษาผ้าไหม
คนไทยหันมานิยมใช้ผ้าไหมกันมาก แต่บางคนก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่ยอมซื้อผ้าไหมมาใช้เพราะเห็นว่าเป็นของแพงที่มีความสวยงาม ประณีต เกรงกันว่าจะรักษาให้ดีและสวยงามตลอดไปยาก ทั้งที่จริงแล้วการดูแลรักษาผ้าไหมไมใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย หากผู้ใช้รู้จักให้ความสนใจในความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการขจัดรอยเปื้อนบนผ้าไหมและวิธีการรักษาให้สวยงามคงทนตลอดไป
เริ่มกันตั้งแต่การขจัดรอยเปื้อนบนผ้าไหมที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น คราบสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลแก่ที่เกิดจากการเก็บผ้าไว้นาน หากใช้ผงซักฟอกแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ จะทำให้ผ้าไหมไม่เสีย
- รอยเปื้อนที่เกิดจากคราบเบียร์ที่ถุกปล่อยทิ้งไว้นาน ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ โซเดียมคาบอเรต
- รอยเปื้อนที่เกิดจากเลือด ให้ใช้กรดออกซาลิก หรือถ้าต้องการให้ขาวยิ่งขึ้น ก็ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- รอยเปื้อนที่เกิดจากไอโอดีน ใช้สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 10 % ถูหรือแปรงเบา ๆ ตรงรอยเปื้อนแล้วล้างให้สะอาด
- รอยเปื้อนจากคราบสนิม ใช้กรดออกซาลิกเจือจางที่อุ่นหรือสารที่เป็นสารขจัดสนิม ( ควรล้างอย่างระมัดระวัง )
- ส่วนรอยเปื้อนจากลิปสติกและแป้งรองพื้นให้แต้มด้วยน้ำยาลบหมึกพิมพ์ และล้างด้วยตัวทำลายที่ระเหยง่าย หรือน้ำยาซักแห้ง ถ้ายังมีคราบเหลืองหลงเหลืออยู่ ควรใช้สารละลายเจือจางของโพตัสเซียมไดโครเมต แล้วตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ที่อุ่น และกรดออกซาลิกที่อุ่น
เมื่อรู้จักวิธีขจัดรอยเปื้อนต่าง ๆ แล้ว ต้องรู้อีกว่าทุกครั้งควรซักผ้าไหมนั้นให้สะอาด อย่าไปหวงน้ำ เดี๋ยวจะทำให้สารที่ตกค้างอยู่ไปออกฤทธิ์ทำลายเส้นไหมให้เสียหายได้และ ก่อนจะใช้สารตัวใดกับผ้าไหมควรทดสอบโดยหยดสารนั้นลงบนบริเวณตะเข็บด้านในดูว่าทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนสีหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแสดงว่า สารตัวนั้นใช้ได้ เริ่มตั้งแต่การซัก ควรใช้สบู่หรือสารซักฟอกที่มีสภาพเป็นกลางหรือมีความเป็นด่างน้อย ไม่ควรขยี้หรือขัดถูผ้าไหมแรง ๆ แต่ควรซักด้วยการแกว่งหรือสลัดเบา ๆ ในน้ำจนสะอาด แล้วจึงค่อย ๆ บีบเอาน้ำออกจนผ้าหมาด แต่อย่าบิดผ้าไหม และอย่าซักโดยใช้เครื่องซักผ้า เวลาตากให้ตากไว้ในที่ร่ม ไม่ควรแขวนผ้าไหมไว้กลางแดดหรือแขวนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดรังสี ถ้าต้องการให้ผ้าไหมแห้งเร็วก็ให้เป่าแห้งโดยใช้พัดลม ไม่ควรทำให้แห้งโดยใช้เครื่องปั่นผ้า เพราะจะทำให้เกิดรอยยับมาก ซึ่งจะทำให้รีดลำบากและไม่ควรปล่อยให้ผ้าแห้งเองโดยใช้เวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดรอยด่างเป็นจุด ๆ จากรอยแห้งของหยดน้ำส่วนการรีด ก็ควรรีดขณะผ้ายังหมาดอยู่ แต่ในกรณีที่ผ้าแห้งแล้ว ให้พรมน้ำลงบนผ้าจนผ้าชื้นทั่วทั้งผืน ควรใช้อุณหภูมิในการรีดไม่เกิน 145 องศาเซลเซียส และรีดด้านในของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า แล้วจึงรีดทับบนผ้าบางนั้น จะทำให้ได้ผ้าไหมที่มีความเรียบและสวยงาม แต่ถ้ารีดผ้าไหมขณะยังเปียกและใช้ความร้อนสูงเกิน จะทำให้ผ้าไหมมีความกระด้างไม่น่าสัมผัส
สังเกตุโดยรวม ถ้าเป็นไหมเนื้อละเอียดจะทอจากไหมเส้นเล็กซึ่งมีความเงางามและอาจมีขี้ไหมหรือปมไหมอยู่บ้างแต่ไม่มาก ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ ๆ ของไหม ส่วนผ้าไหมเนื้อหยาบจะมีความเงาน้อยลงมาก แต่มีขี้ไหมอยู่ทั่วทั้งผืนเป็นเอกลักษณ์ แต่ทั้งความเงาและขี้ไหมในปัจจุบันนี้ สามารถเลียนแบบให้ใกล้เคียงได้มีเงาและมีขี้ไหมคล้ายกัน แต่เรื่องโครงสร้างและความโปร่ง ใส่สบาย ยังไม่สามารถเลียนแบบธรรมชาติได้
ขั้นตอนที่ 2
หากผ้าไหมที่เราซื้อมามีความเงาและมีขี้ไหมก็ยังไม่สามารถวางใจได้ 100% เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถใช้เส้นใยสังเคราะห์ทำให้ใกล้เคียงกันได้ แต่โครงสร้างของเส้นใยต่างกัน
วิธีพิสูจน์ลำดับต่อไปก็คือ ดึงเส้นไหมจากผ้าทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน เนื่องจากบางครั้งจะมีการปลอมเพียงครึ่งเดียว คือ ปลอมเฉพาะทางทอหรือแนวนอนเท่านั้น แต่ทางยืนหรือแนวตั้งจะเป็นเส้นไหมจริง ดังนั้น การทดสอบจึงควรดูทั้ง 2 แนวผ้า เมื่อดึงเส้นด้ายมาแล้วลองจุดไฟเพื่อสังเกตุ ถ้าเป็นเส้นไหมแท้ ๆ เมื่อโดนไฟจะลุกเป็นเปลวเหลือง เถ้าเป็นก้อนสีดำ มีกลิ่นเหมือนเส้นผมหรือขนนกไหม้แล้วจะหดเล็กน้อย แต่ไม่รวมเป็นก้อนเหมือนเส้นใยสังเคราะห์ ตรงนี้จะเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญ กล่าวคือลักษณะของเส้นใยสังเคราะห์ที่มีความเงาจะมีส่วนผสมของพลาสติก ถ้าเป็นไหมเทืยมจะลุกไหม้อย่างรวดเร็วเหลือเถ้าน้อยมาก มีกลิ่นเหมือนพลาสติกไหม้
ขั้นตอนที่ 3
สังเกตุที่ความเปราะของเส้นใยถ้าเป็นผ้าไหมแท้เส้นใยจะเป็นธรรมชาติ มีโครงสร้างที่เล็ก เมื่อถูกไฟจะเปราะและเมื่อใช้นิ้วขยี้ก็จะแตกเป็นเถ้า ส่วนกลิ่นก็จะไม่เหม็นมากและเป็นกลิ่นธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นไหมสังเคราะห์จะมีกลิ่นเหมือนพลาสติกไหม้และจะไม่เป็นเถ้าหรือผงแต่จะหดตัวและเป็นก้อนติดกัน เพราะเส้นใยสังเคราะห์จะมีส่วนผสมของพลาสติก
การเก็บรักษาผ้าไหม
การเก็บรักษาผ้าไหมนั้น ควรเก็บผ้าไหมไว้ในตู้เสื้อผ้าที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ผ้าซิ่นไหมควรใช้วิธีแขวนบนราวหรือไม้แขวนที่มีแกนกลางกลมขนาด 1 เซนติเมตร ไม่ควรพับซ้อนกันเพราะจะทำให้เกิดรอยพับหรือเส้นไหมหักงอได้ ถ้าแขวนไว้นานควรนำอกมาพับแขวนสลับด้านบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการหักงอของเส้นไหม ในตู้เสื้อผ้าที่เก็บผ้าไหมควรมีลูกเหม็นกันแมลงวางไว้และถ้าในตู้เสื้อผ้ามีผ้าไหมจำนวนมากๆ ควรมีถ้วยน้ำวางไว้ป้องกันไม่ให้เส้นไหมแห้งกรอบ เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มความชื้นทำให้เส้นไหมไม่กินตัว แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ผ้าไหมอับชื้นจนเกินไปเพราะถ้าผ้าไหมมีความอับชื้นนานเพียง 2 คืน อาจทำให้ขึ้นราเป็นดอกสีขาว ซึ่งในจุดราดอกขาวนั้นทำให้ผ้าผุเร็ว หากใช้ผ้าไหมแล้วยังไม่ได้นำไปซักหรือต้องการใช้ซ้ำ ควรนำผ้าไหมไปผึ่งให้แห้งสนิทก่อนแล้วจึงเก็บ
3.5 การดูแลรักษาผ้าไหม
คนไทยหันมานิยมใช้ผ้าไหมกันมาก แต่บางคนก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่ยอมซื้อผ้าไหมมาใช้เพราะเห็นว่าเป็นของแพงที่มีความสวยงาม ประณีต เกรงกันว่าจะรักษาให้ดีและสวยงามตลอดไปยาก ทั้งที่จริงแล้วการดูแลรักษาผ้าไหมไมใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย หากผู้ใช้รู้จักให้ความสนใจในความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการขจัดรอยเปื้อนบนผ้าไหมและวิธีการรักษาให้สวยงามคงทนตลอดไป
เริ่มกันตั้งแต่การขจัดรอยเปื้อนบนผ้าไหมที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น คราบสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลแก่ที่เกิดจากการเก็บผ้าไว้นาน หากใช้ผงซักฟอกแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ จะทำให้ผ้าไหมไม่เสีย
- รอยเปื้อนที่เกิดจากคราบเบียร์ที่ถุกปล่อยทิ้งไว้นาน ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ โซเดียมคาบอเรต
- รอยเปื้อนที่เกิดจากเลือด ให้ใช้กรดออกซาลิก หรือถ้าต้องการให้ขาวยิ่งขึ้น ก็ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- รอยเปื้อนที่เกิดจากไอโอดีน ใช้สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 10 % ถูหรือแปรงเบา ๆ ตรงรอยเปื้อนแล้วล้างให้สะอาด
- รอยเปื้อนจากคราบสนิม ใช้กรดออกซาลิกเจือจางที่อุ่นหรือสารที่เป็นสารขจัดสนิม ( ควรล้างอย่างระมัดระวัง )
- ส่วนรอยเปื้อนจากลิปสติกและแป้งรองพื้นให้แต้มด้วยน้ำยาลบหมึกพิมพ์ และล้างด้วยตัวทำลายที่ระเหยง่าย หรือน้ำยาซักแห้ง ถ้ายังมีคราบเหลืองหลงเหลืออยู่ ควรใช้สารละลายเจือจางของโพตัสเซียมไดโครเมต แล้วตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ที่อุ่น และกรดออกซาลิกที่อุ่น
เมื่อรู้จักวิธีขจัดรอยเปื้อนต่าง ๆ แล้ว ต้องรู้อีกว่าทุกครั้งควรซักผ้าไหมนั้นให้สะอาด อย่าไปหวงน้ำ เดี๋ยวจะทำให้สารที่ตกค้างอยู่ไปออกฤทธิ์ทำลายเส้นไหมให้เสียหายได้และ ก่อนจะใช้สารตัวใดกับผ้าไหมควรทดสอบโดยหยดสารนั้นลงบนบริเวณตะเข็บด้านในดูว่าทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนสีหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแสดงว่า สารตัวนั้นใช้ได้ เริ่มตั้งแต่การซัก ควรใช้สบู่หรือสารซักฟอกที่มีสภาพเป็นกลางหรือมีความเป็นด่างน้อย ไม่ควรขยี้หรือขัดถูผ้าไหมแรง ๆ แต่ควรซักด้วยการแกว่งหรือสลัดเบา ๆ ในน้ำจนสะอาด แล้วจึงค่อย ๆ บีบเอาน้ำออกจนผ้าหมาด แต่อย่าบิดผ้าไหม และอย่าซักโดยใช้เครื่องซักผ้า เวลาตากให้ตากไว้ในที่ร่ม ไม่ควรแขวนผ้าไหมไว้กลางแดดหรือแขวนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดรังสี ถ้าต้องการให้ผ้าไหมแห้งเร็วก็ให้เป่าแห้งโดยใช้พัดลม ไม่ควรทำให้แห้งโดยใช้เครื่องปั่นผ้า เพราะจะทำให้เกิดรอยยับมาก ซึ่งจะทำให้รีดลำบากและไม่ควรปล่อยให้ผ้าแห้งเองโดยใช้เวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดรอยด่างเป็นจุด ๆ จากรอยแห้งของหยดน้ำส่วนการรีด ก็ควรรีดขณะผ้ายังหมาดอยู่ แต่ในกรณีที่ผ้าแห้งแล้ว ให้พรมน้ำลงบนผ้าจนผ้าชื้นทั่วทั้งผืน ควรใช้อุณหภูมิในการรีดไม่เกิน 145 องศาเซลเซียส และรีดด้านในของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า แล้วจึงรีดทับบนผ้าบางนั้น จะทำให้ได้ผ้าไหมที่มีความเรียบและสวยงาม แต่ถ้ารีดผ้าไหมขณะยังเปียกและใช้ความร้อนสูงเกิน จะทำให้ผ้าไหมมีความกระด้างไม่น่าสัมผัส
3.6 สำหรับผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่
สำหรับผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่นั้น ควรจะนำไปแช่น้ำหรืออบไอน้ำ เพื่อให้เนื้อผ้ามีความอยู่ตัวก่อนที่จะนำไปตัด ซึ่งขั้นตอนสำหรับการดูแลรักษาผ้าไหม มีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการซัก การทำความสะอาดผ้าไหมให้ดูใหม่อยู่เสมอ ควรซักด้วยน้ำยาซักแห้งชนิดอ่อน ถ้าเป็นน้ำยาซักแห้งที่ทำมาสำหรับผ้าไหมโดยเฉพาะก็จะดีมาก แต่ไม่แนะนำให้ซักผ้าไหมด้วยเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้ผ้าไหมยับมากและรีดยาก ควรซักผ้าไหมด้วยมือด้วยความนุ่มนวลและไม่ขยี้หรือบิดผ้าแรง ๆ เพราะจะทำให้ผ้าเสียทรง หากนำผ้าไหมลงน้ำแล้วไม่ควรแช่ไว้นาน โดยเฉพาะผ้าสีสด เช่น สีม่วง สีชมพูสด สีบานเย็น และโดยเฉพาะผ้าโทนสีเข้ม ๆ หลังจากซักเสร็จแล้วควรสลัดผ้าไหมให้คลายตัวและไม่ย่นก่อนนำตาก เมื่อผ้าแห้งจะทำให้รีดได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ผ้าไหมไม่เสียทรงและยับง่าย
2. ขั้นตอนการตาก ขั้นตอนของการตากนั้น หลังจากทำการซักเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรสลัดผ้าเพื่อให้ผ้าคลายตัวแล้วนำไปตากในที่ร่ม หรือที่ที่มีแสงแดดอ่อน ๆ ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญพยายามเลี่ยงในบริเวณที่แดดจัด ๆ เพราะจะทำให้สีผ้าไหมซีดได้
3. ขั้นตอนการรีด ขั้นตอนในการรีดนั้น ก่อนรีดให้ฉีดพรมน้ำยารีดผ้าไหมให้ทั่ว และรีดด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความร้อนที่เตารีดแต่ละชนิดกำหนดไว้ แต่สำหรับผ้าไหมพิมพ์ลายให้ลดความร้อนลงจากปกติประมาณ 1 - 2 ระดับ ถ้าผ้าไหมยับมากก่อนรีดควรฉีดพรมน้ำยาให้ทั่ว แล้วพับใส่ถุงพลาสติก นำไปแช่ในช่องเข็งในตูเย็นประมาณ 10 - 15 นาที แล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่ายและเรียบยิ่งขึ้น
- เรื่องเกี่ยวกับ ใบหม่อน
4.1 หม่อน
หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) ชื่อสามัญ Mulberry tree, White Mulberry[1]
หม่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn. จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE[1]
สมุนไพรหม่อน ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า มอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน), ซึงเฮียะ ซึงเอียะ (จีนแต้จิ๋ว), ซางเย่ (จีนกลาง) เป็นต้น[2],[3]
หม่อนที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ หม่อนที่ปลูกเพื่อรับประทานผล (ชื่อสามัญ Black Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L.) ชนิดนี้ผลจะโตเป็นช่อ เมื่อสุกผลจะเป็นสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทาน ทำแยม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่วนอีกชนิดนั้นก็คือ หม่อนที่ใช้ปลูกเพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก (ชื่อสามัญ White Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L.) เป็นชนิดที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ครับ ชนิดนี้จะมีใบใหญ่และออกใบมากใช้เป็นอาหารของไหมได้ดี ส่วนผลจะออกเป็นช่อเล็ก เมื่อสุกแล้วจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่
4.2 ลักษณะของหม่อน
- ต้นหม่อน เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ภายหลังได้มีกรนำเข้ามาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มากนัก เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว พบได้ทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ
- ใบหม่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจหรือค่อนข้างตัด ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู (ขึ้นอยู่กับสาพันธุ์ที่ปลูก) ใบอ่อนขอบใบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มเรียบเงา ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบค่อนข้างหนา หลังใบสากระคายมือ เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบอีก 4 คู่ เส้นร่างแหเห็ดได้ชัดเจนจากด้านล่าง ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีหูใบเป็นรูปแถบแคบปลายแหลม ยาวได้ประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร
- ดอกหม่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก วงกลีบรวมเป็นสีขาวหม่นหรือเป็นสีขาวแกมสีเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ส่วนดอกเพศเมีย วงกลีบรวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน
- ผลหม่อน เป็นผลที่เกิดจากช่อดอก ผลเป็นผลรวมอยู่ในกระจุกเดียวกัน โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเข้มหรือสีม่วงดำ เกือบดำ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว
4.3 สรรพคุณของหม่อน
- ใบหม่อนมีรสจืดเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)
- ใบใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ราก)
- กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
- ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)
- ผลหม่อนมีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)
- ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ และเป็นยาช่วยขับลมร้อน (ใบ)
- ใบมีรสขม หวานเล็กน้อย เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
- ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
- เปลือกรากหม่อนมีรสชุ่ม เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)
- เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
- ใบนำมาทำเป็นยาต้ม ใช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น หล่อลื่นภายนอก (ใบ)
- รากนำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)
- ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด) ส่วนผลมีสรรพคุณทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส ร่างกายสุขสบาย (ผล)
- ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ล้างตา แก้ตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาฝ้าฟาง (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ), ส่วนผลมีสรรพคุณช่วยทำให้หูตาสว่าง (ผล)
- ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หรือจะใช้ใบนำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)
- ตัวไหม
วงจรของชีวิตัวไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ฟักเป็นตัวหนอนไหมในระยะเป็นตัวหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง พอตัวหนอนไหมแก่เข้าก็จะชักใยทำรังหุ้มตัวเองแล้วตัวไหมก็จะลอกคราบเป็นดักแด้อยู่ในรังนั้นพอครบอายุดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อเจาะรังออกมาผสมพันธุ์กันพรัอมทั้งวางไข่ฟักเป็นตัวหนอนต่อไป วนเวียนกันอยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ ไปไม่รู้จักจบอายุของไข่ของตัวไหมดังนี้
อยู่ในไข่ 10 วัน
เป็นตัวหนอน 22 - 26 วัน
เป็นดักแด้ 8 - 10 วัน
เป็นผีเสื้อ 2 – 3 วัน
รวม 42 - 49 วัน
5.1 ตัวหนอนไหมและวิธีการเลี้ยง
เมื่อไข่มีอายุได้ 8 วัน ก็จะมีจุดดำ ๆ ที่ริมไข่ทุกใบ วันที่ 9 สีของฟองไข่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาแก่แสดงว่าไข่นั้นจะฟักเป็นตัวแล้วและคืนวันที่ 9 เวลาเช้ามืดไข่ก็จะตั้งต้นฟักบ้างแล้วพอเที่ยงวันที่ 10 ก็จะฟักเป็นตัวหมด พอเย็นวันที่ 9 ต้องหากระดาษห่อไข่ไหมไว้เพราะเช้ามืด
ไข่จะฟักออกเป็นตัวและฟักไปเรื่อย ๆ จนถึงเที่ยงก็จะหมด เมื่อตัวไหมฟักออกหมดแล้วต้องแก้กระดาษที่ห่อนั้นออกแล้วหั่นใบหม่อนอ่อนๆ ให้กินโดยโรยลงไปบนตัวไหมพอควรทีแรกตัวไหมฟักมีอายุได้ 4 - 5 วันก็จะนอนครั้งหนึ่งเมื่อสังเกตดูว่าเห็นตัวไหมเริ่มนอนแล้วก็อาจจะถ่ายมูลไหมและเศษไหมหม่อนแห้งในกระด้งใหม่เสียก่อนที่ตัวไหมจะตื่นนอน เมื่อตัวไหมเป็นเช่นนี้เรียกว่า "นอนหนึ่ง" ตัวไหมจะมีอาการเช่นนี้อยู่วันหนึ่งหรือสองวันจึงจะฟื้นแข็งแรงเมื่อตัวไหมฟื้นจากนอนหนึ่งแล้วผู้เลี้ยงก็จะเลี้ยงโดยหั่นใบหม่อนให้กินอย่างเดิม พอได้ 7 วันตัวไหมก็จะสงบนิ่งไม่กินใบหม่อนและมีอาการเหมือนกันกับครั้งแรก คือ มีอาการสงบนิ่งและจะมีอาการเช่นนั้นอีกวันหนึ่งหรือสองวันเรียกว่า "นอนสอง" เมื่อฟื้นจากนอนสองคราวนี้ไม่ต้องหั่นใบหม่อนให้กินเพราะตัวไหมเขื่องขึ้นแล้ว ต่อไปอีก 7 วันตัวไหมจะมีอาการสงบนิ่งเหมือนที่เคยคราวนี้เรียกว่า "นอนสาม" เมื่อฟื้นจากนอนสามต่อไปอีก 7 วันตัวไหมก็จะมีอาการดังกล่าวอีกเรียกว่า "นอนสี่" หลังจากนอนสี่แล้วก็ถึงนอนห้ารอหนอนสุก (ตัวไหม) ที่แก่เต็มที่แล้วเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ไหมสุก" ซึ่งตัวไหมจะทำฝักและทำรังไหมทำฝักและทำรังเมื่อคัดตัวไหมขั้นนอนห้าประมาณ 5 - 7 วัน ตัวไหมก็จะเริ่มแก่ (เริ่มสุก) ก่อนที่ตัวไหมเป็นฝักและทำรังต้องหาจ่อไว้ให้พอดีกับตัวไหมหลังจากนั้นผู้เลี้ยงต้องหมั่นตรวจดูว่า ตัวไหมแก่คือ ทำฝักทำรังลักษณะที่ไหมทำการฝักทำรังจะสังเกตได้โดยดูตัวไหมที่มีสีเหลืองไปทั้งตัวแล้วรีบคัดตัวไหมตัวนั้นไป ใส่ไว้ในจ่อเลี้ยงคราวหนึ่งต้องคอยคัดไปใส่จ่อเรื่อย ๆ ราว 4 - 5 วัน จนหมดตัวแก่นั้นในขณะที่คัดตัวไหมไปใส่จ่อผู้เลี้ยงต้องไม่ให้อาหารกับตัวไหม เลยเพื่อจะได้ให้ตัวไหมรีบทำฝักและทำรัง เมื่อตัวไหมเข้าไปอยู่ในฝักราว 3 วันตัวไหมก็จะยุบตัวเล็กลงเรียกว่า "ตัวดักแด้" เลี้ยงจับฝักเขย่าดูปรากฏว่ามีเสียงดังขลุก ๆ อยู่ภายในแล้วแสดงว่าใช้ได้ จึงนำเอาไปต้มแล้วสาวต่อไป ถ้ารังใดจะเก็บเอาไว้ทำพันธุ์ ก็เก็บเอาไว้นานประมาณ 7 วันตัวดักแด้ก็จะมีปีกเรียกว่า "ตัวบี้"
5.2 หลักสำคัญในการเลี้ยงไหม
1. สถานที่เลี้ยงไหมห้ามสูบบุหรี่ และยาสูบเป็นอันขาด เพราะควันจะเป็นอันตรายต่อตัวไหม
2. สถานที่เลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากครัวไฟเพราะควันไฟและกลิ่นต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อ ตัวไหมและอย่ายากำจัดแมลงไม่ว่ายาชนิดใดพ่นใส่ในสถานที่เลี้ยงไหมเป็นอันขาด
3. ใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหมจะต้องสะอาด
4. การให้อาหารครั้งหนึ่ง ๆ ต้องไม่น้อยหรือมากจนเกินไปควรกะให้พอดี
5. ต้องถ่ายมูลไหมก่อนนอนทุกครั้ง ส่วนไหมที่ตื่นครั้งที่สี่ต้องถ่ายมูลไหมอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
6. หลังจากการเลี้ยงไหมครั้งหนึ่ง ๆ กระด้ง ผ้าคลุม และเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ควรล้างด้วยน้ำผสมยาฆ่าเชื้อโรคให้สะอาดแล้วตากแดดให้แห้งสนิทอย่างใช้ยากำจัดแมลงเป็นอันขาด
7. โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไหมโดยเฉพาะนั้น ต้องปิดให้มิดแล้วรมด้วยควันกำมะถันจึงเปิดทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 วัน ก่อนที่จะเลี้ยงไหมต่อไป
อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
อุปกรณ์ในการทอผ้า
1. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน
2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน
3. หลา,ไน หรือเครื่องกรอหลอด
4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม
5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอกกรอไหม
6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด
7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา
8. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือสำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกมาจากกัน
9. ตะกอ ทำจากเส้นด้ายป่าน ที่มีความแข็งแรง เหนี่ยวแน่น ทำหน้าที่แยกเส้นไหมให้ขึ้นลง
10. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งเส้นไหม
11. ผัง ใช้สำหรับตึงริมผ้าให้เสมอกัน มีลักษณะเป็นไม้ยาวเท่ากับความกว้างของผ้า
2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน
3. หลา,ไน หรือเครื่องกรอหลอด
4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม
5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอกกรอไหม
6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด
7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา
8. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือสำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกมาจากกัน
9. ตะกอ ทำจากเส้นด้ายป่าน ที่มีความแข็งแรง เหนี่ยวแน่น ทำหน้าที่แยกเส้นไหมให้ขึ้นลง
10. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งเส้นไหม
11. ผัง ใช้สำหรับตึงริมผ้าให้เสมอกัน มีลักษณะเป็นไม้ยาวเท่ากับความกว้างของผ้า
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
เส้นไหม
สีย้อมไหม
วัตถุดิบ
1. เส้นไหม
2. สีย้อมไหม
3. นำ้ยาย้อมไหม
4. ด่างฟอก
5. สบู่เทียม
6. ฟางใช้มัดหมี่
2. สีย้อมไหม
3. นำ้ยาย้อมไหม
4. ด่างฟอก
5. สบู่เทียม
6. ฟางใช้มัดหมี่
ขั้นตอนในการทอผ้า
1.สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน
และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวี
2.ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง
ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ
3. กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก
ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่
2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ
4. การกระทบฟันหวี (ฟืม)
เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน
ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา การเก็บหรือม้วนผ้า
5.
เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ได้รับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาเว็บบล็อก
(WebBlog) ด้วย blogger เรื่อง ผ้าไหม
2.
ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเป็นบทเรียนในการสร้างเว็บบล็อกคือเรื่อง
ผ้าไหม
3.
ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก
blogger ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
4.
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู
เพื่อนและผู้สนใจทั่วไปเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกได้
5.
ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่า
และสร้างสรรค์
6.
มีผู้ศึกษาเรื่องผ้าไหมมากขึ้น
7.
วัยรุ่นสนใจเรื่องเกี่ยวกับผ้าไหมมากขึ้น
8.
ผ้าไหมมีความโดนเด่นในท้องถิ่นมากขึ้น