วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

บล็อกส่วนตัว นางสาว พิมลพรรณ ประเสริฐศรี



ประวัติส่วนตัว นางสาว พิมลพรรณ ประเสริฐศรี




ชื่อ นางสาว พิมลพรรณ ประเสริฐศรี

คุณครูที่ปรึกษา   1.  คุณครู อังคณา นวลพริ้ง
                            2.  คุณครู  นำเกียรติ ทรงวัฒนสิน

เกิดวันที่ 08 พฤษภาคม 2540

อาศัยอยู่ที่ 47/2 หมู่ 15 ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160

บิดาชื่อ นาย วิวัฒน์ ประเสริฐศรี     อาชีพ เกษตรกรรม

มารดาชื่อ  นาง ศรีวรรณ  ประเสริฐศรี    อาชีพ  เกษตรกรรม

สถาบันที่อยากเข้า

   อยากเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน  เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอีกมหาลัยหนึ่งประกอบด้วยการใช้ชีวิตแบบในเมืองซึ่งเป็นความใฝ่ฝัน และคณะที่อยากเรียน มนุษยศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่นค่ะ

อาชีพที่ใฝ่ฝัน  นักแปล ล่าม  ไกด์ นักธุรกิจ

วิชาที่ชอบ  ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ 

วิชาที่ไม่ชอบ  คณิต  ทัศนศิลป์

สีที่ชอบ  สีเหลือง เขียวอ่อน และแดง

ความใฝ่ฝันในชีวิต คือ อยากเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ได้แก เดนมาร์ก อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ นอว์เวย์ แคนาดา อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และทวีปยุโรปทุกประเทศ.




แผนที่















วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากหัวผักกา



หัวไชเท้าผัดไข่



วัตถุดิบ
1. ไข่ 2 ฟอง
2. ไชโป้หวาน แบบเส้น หรือสับ 150 กรัม
3. กระเทียมไทสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
4. ซีอิ้วขาว 2 ช้อนชา
5. น้ำตาลทราย 1.5 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำมันพืช 2+1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. นำน้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะแรกตั้งไฟ นำกระเทียมสับลงผัดพอเหลืองหอม
2. ใส่ไชโป้ลงไปผัด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทราย ผัดจนหอม
3. ใส่น้ำมันที่เหลือ ตอกไข่ ลงตรงน้ำมัน
4. ผัดคลุกให้เข้ากับไชโป้

ข้อแนะนำ
ไข่ผัดไชโป้เน้นการผัดไชโป้กับเครื่องปรุง และผัดเล่นกับไฟจนหอม ความอร่อยจึงเกิดขึ้นกับคุณภาพของไชโป้เป็นอย่างมาก

เวลาที่ใช้ในการทำ 
5 นาที

คุณค่าทางอาหาร
ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม มี
น้ำ 91.7 กรัม
โปรตีน 0.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
ความร้อน 250,000 แคลอรี่
เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม
•ash 0.8 กรัม
คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.
วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก.
วิตามินบีสอง 0.04 มก.
กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก.
วิตามินซี 30 มก.
แคลเซียม 49 มก.
ฟอสฟอรัส 34 มก.
เหล็ก 0.5 มก.
โปแตสเซียม 196 มก.
ซิลิกอน 0.024 มก.
แมงกานีส 1.26 มก.
สังกะสี 3.21 มก.
โมลิบดีนัม 0.125 มก.
โบรอน 2.07 มก.
ทองแดง 0.21 มก.






เอกสารอ้างอิง
http://www.foodtravel.tv/recfoodShow_Detail.aspx?viewId=2169





วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ต้นพุทธรักษา

    พุทธรักษา


ชื่อสามัญ       Cannas
ชื่อวิทยาศาสตร์     Canna generalis 
วงศ์        CANNACEAE
ชื่อเรียกอื่นๆ 
บัวละวงศ์ (ลำปาง), บัวละวง (ลพบุรี), พุทธศร (พายัพ), พุทธสร (ภาคเหนือ),สาคูหัวข่า สาคูมอญ (ภาคกลาง), ปล้ะย่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กวงอิมเกีย เซียวปาเจีย มุยหยิ่งเจีย (จีน), เหม่ยเหยินเจียว เสี่ยวปาเจียว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุทธรักษา

          เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกาและภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด (แต่วิธีที่นิยมใช้และได้ผลดีคือวิธีการแยกหน่อ) ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร ชอบแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน พุทธรักษาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าเมืองไทยหลายชนิด โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าดงดิบแล้งในที่ลุ่ม หรือตามลำห้วย


     ดอกพุทธรักษา 


           


               ดอกจะมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีแดง สีแดงอม        เหลือง สีส้ม     สีเหลือง สีชมพู สีขาว ฯลฯ สามารถ        ออกดอกได้คลอดปี โดยจะ   ออกดอกเป็นช่อ                บริเวณปลายยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ช่อ            หนึ่งมีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ช่อดอก      มีดอกย่อยหลายดอก ประมาณ 8-10 ดอก ช่อดอกมี      รูปคล้ายทรงกระบอก เมื่อดอกบานจะแตกออกเป็นก      ลีบ 3 กลีบ ปลายกลีบ       แหลม ดอกบานเต็มที่จะมี      ขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร     มีกลีบเลี้ยง 3      กลีบ เป็นสีเขียวอ่อนและมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ          1.2 เซนติเมตร หุ้มอยู่บริเวณโคนดอก รูปไข่กลมรี          ดอกมีผงเทียนไขปกคลุม มีเกสรเพศผู้เป็น                      หมันมีลักษณะคล้ายกลีบดอก   เป็นสีส้มแดง









               

                ผลพุทธรักษา

          ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นพู 3 พู ผลมีขนาดเท่ากับผลมะไฟ ผิวผลขรุขระ เปลือกนอกเป็นสีเขียวและมีขนหรือหนามอ่อนๆ คล้ายกับลูกละหุ่งหรือลูกเร่ว โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดสีขาวหลายเมล็ด พอแก่เป็นสีน้ำตาล มัน




สรรพคุณของพุทธรักษา

  1. เมล็ดมีรสเมาเย็น ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (เมล็ด) ชาวชวาจะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้พอกบริเวณขมับแก้อาการปวดศีรษะ (เมล็ด)
  2. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น (ดอก)
  3. ดอกใช้เป็นยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย (ดอก)
  4. ช่วยลดความดันโลหิต (ดอก)
  5. ชาวอินเดียจะใช้เหง้าเป็นยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ (เหง้า)
  6. เหง้ามีสรรพคุณแก้วัณโรค แก้อาการไอ (เหง้า)
  7. เหง้าใช้ต้มกินเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด และไอมีเลือด (เหง้า)
  8. ช่วยแก้อาเจียน (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียว แล้วนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)
  10. เหง้ามีรสเย็นฝาดขื่น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงปอด แพทย์ตามชนบทจะใช้เหง้านำมาต้มกินเป็นยาบำรุงปอด (เหง้า)
  11. ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย (ใบ)
  12. ชาวชวาจะใช้น้ำคั้นจากเหง้าเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (เหง้า)
  13. ช่วยแก้โรคบิด บิดเรื้อรัง (เหง้า)
  14. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่หยุดของสตรี (เหง้า) ตำรับยาแก้ประจำเดือนมาไม่หยุด ให้ใช้เหง้ากับดอกเข็ม (Ixora Chinensis Lam) นำมาตุ๋นร่วมกับไก่กิน หรือจะใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวตุ๋นกับไก่กินก็ได้ (เหง้า)
  15. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า) ตำรับยาแก้ตกขาว ระบุให้ใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)
  16. ช่วยแก้โรคตับอักเสบ แก้ตับอักเสบติดเชื้อ ตับอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง ให้ใช้เหง้าสดนำมาต้มกับน้ำ แบ่งกินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (เป็น 1 รอบของการรักษา) และในระหว่างการรักษาห้ามกินกุ้ง ปลา ของเผ็ด จิงฉ่าย และน้ำมันพืช ซึ่งจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 52 ราย พบว่าผู้ป่วย 34 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 250 วัน มีอาการหายดีเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยอีก 18 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 30 วัน พบว่ามีอาการดีขึ้นเล็กน้อย (เหง้า)
  17. ชาวกัมพูชาจะใช้เหง้าต้มและคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาแก้คุดทะราด และใช้ชะล้างทำความสะอาดบาดแผล (เหง้า)
  18. ดอกสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล ห้ามเลือด รักษาบาดแผลสด หรือบาดแผลมีหนอง แก้ฝีหนองได้ (ดอก) บ้างว่าใช้ดอกห้ามเลือดบาดแผลภายนอกให้ใช้ดอกแห้ง 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  19. เหง้าใช้เป็นยาตำพอกรักษาแผลอักเสบบวม ช่วยสมานแผล แก้ฝีหนองปวดบวม แก้ฟกช้ำ (เหง้า)

หมายเหตุ : ดอกและเหง้ามีรสขม ฝาดเล็กน้อย ดอกมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและลำไส้ใหญ่ วิธีการใช้ตาม  ถ้าเป็นดอก ให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ถ้าเป็นเหง้าแห้งให้ใช้ครั้งละ 4-10 กรัม หากเป็นเหง้าสด ให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้ภายนอกให้ใช้ยาสด นำมาตำแล้วพอกแผล ส่วนวิธีการเก็บมาใช้ ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถขุดเก็บได้ตลอดปี นำมาตัดก้านใบและรากฝอยทิ้ง แล้วล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่นๆ ตากให้แห้งเก็บไว้ใช้ หรือจะใช้สดๆ เลยก็ได้

ประโยชน์ของพุทธรักษา

  1. เหง้าสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายแบบ เช่นเดียวกับเผือกและมัน
  2. ชาวมาเลเซียจะใช้เหง้าปรุงเป็นอาหาร
  3. ชาวอินเดียจะใช้ก้านใบผสมกับข้าว พริกไทยและน้ำ นำมาต้มให้เดือดให้วัวกินเป็นยาแก้พิษเนื่องจากไปกินหญ้ามีพิษมา
  4. ใยจากก้านใบยังสามารถนำมาใช้แทนปอกระเจาได้ในอุตสาหกรรมทำเชือกและถุงเท้า
  5. ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้ง ที่เรียกว่า Canna starch ได้
  6. ใบพุทธรักษาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การใช้มุงหลังคา ทำกระทง ทำเชือก
  7. เมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นสร้อยและร้อยเป็นสายประคำได้ โดยการเก็บเมล็ดที่โตเต็มที่แล้ว แต่ก่อนที่ผลจะสุกแกะเปลือกออกนำไปตากแห้ง เมล็ดจะแข็งและเป็นสีม่วงเข้ม แล้วนำมาเจาะรูร้อยเป็นสายประคำได้สวยงามมาก ส่วนชาวสเปนจะนำเมล็ดมาทำลูกปัด
  8. เครื่องดนตรีที่ว่าฮอชฮา (Hosha) ของชาวซิมบับเว ที่ใช้เขย่านั้น ก็ใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
  9. ใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นกระดาษสา ใช้ห่อของ และให้สีจากธรรมชาติ การสกัดสีจากใบพุทธรักษา มีการนำมาใช้แต่งงานศิลปะ วาดภาพ พิมพ์ภาพ และทั้งใบและกาบใบยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้อีกด้วย
  10. กาบใบพุทธรักษานำมาตากแดดให้แห้ง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้หรือของเล่นต่างๆ ได้ เช่น ตุ๊กตา ปลาตะเพียน ฯล
  11. ดอกพุทธรักษาสามารถนำมาสกัดสีทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ แต่จะติดสีไม่มากนักและสีไม่สด และนิยมใช้ตัดดอกปักแจกัน
  12. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามริมสวนน้ำ ริมคูน้ำที่โล่งแจ้ง ตามร่องระบายน้ำ ริมถนนทางเดิน หรือปลูกลงในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนก็ได้
  13. เนื่องจากดอกพุทธรักษามีความสวยงามและมีหลายพันธุ์หลายสี แต่เมื่อดอกโรยควรตัดพุ่มใบนั้นทิ้งไป การดูแลรักษาก็ค่อนข้างง่าย เพราะสามารถทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี
  14. ความหมายของดอกพุทธรักษา และความเป็นมงคล ตั้งแต่มีการกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ ก็ได้มีการกำหนดให้ “ดอกพุทธรักษาสีเหลือง” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ ด้วยเพราะชื่ออันเป็นมงคลของคำว่า “พุทธรักษา” ที่หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อจึงเสมือนหนึ่งการบอกรักและเคารพบูชาพ่อ ซึ่งเป็นผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว (และดอกพุทธรักษายังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพรอีกด้วยครับ)
  15. นอกจากนี้ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายใดๆ เกิดแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้มงคลที่เชื่อกันว่ามีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีแต่ความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง และการปลูกไม้มงคลชนิดนี้เพื่อเอาคุณควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตะของบ้าน และควรปลูกในวันพุธ
การเป็นมงคลต้นพุทธรักษา

          คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง


                                       
การปลูกพุทธรักษา นิยมปลูก 2 วิธี

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร 
   โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 
   x30 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุม 
    ปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อ
    แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป


การดูแลรักษาพุทธรักษา

แสง                           ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง 

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย

ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์          นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด

วิธีที่นิยมและได้ผลดี การแยกหน่อ

โรคและแมลง            ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากใน
                                  หน้าร้อน 

การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วย มาลาไธออนหรือไดอาซินอนถ้าหากกอมีขนาดใหญ่และทึบอาจใช้ยาดูดซึม จำพวกไซกอนละลายน้ำรด ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากก็ได้